หน้าแรก


จุดเริ่มโครงการหลวง



กำเนิดโครงการหลวงอินทนนท์



ศุภนิมิตอันดีของโครงการหลวงอินทนนท์ก็เพราะถือกำเนิดหนึ่งวันหลังวันเฉลิมพระชนมพรรษา

วันเฉลิมฯ ปี พ.ศ.2522 ทรงเชิญคณะรัฐมนตรีไปรับพระราชทานเลี้ยงร่วมกับข้าราชบริพารที่พระราชวังบางประอิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งถามผู้เขียนว่าเรื่องดอยอินทนนท์เป็นอย่างไร และเมื่อทราบว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็มีรับสั่งกับนายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ 

หลังจากนั้นงานพระราชทานงานเลี้ยงผู้เขียนขับรถกลับกรุงเทพฯ เข้านอนยังไม่หลับดีก็ได้รับโทรศัพท์ว่ารุ่งขึ้นเช้า วันที่ 6 ธันวาคม 2522 ท่านนายกขอให้ร่วมคณะบินไปดอยอินทนนท์ คณะของนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย รมต.สำนักนายก รองเลขาฯนายก ผู้เขียน อธิบดี 4 กรม เลขาธิการปฏิรูปที่ดินและผู้ว่าราชการเชียงใหม่ ข้าราชการท้องที่ เช่น นายอำเภอ ตำรวจ และหัวหน้าอุทยานแห่งชาติขึ้นไปสมทบที่บังกะโลป่าไม้ขุนกลาง

**เก็บความจากหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการหลวง” บทนิพนธ์ของหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี พุทธศักราช 2531

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์


สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เลขที่ 202 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรที่อาศัยบนพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงและเผ่าม้ง ซึ่งบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และฝิ่น ส่งผลให้ป่าที่เคยสมบูรณ์กลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาเหล่านั้นให้มีพื้นที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ ปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ด้วยการหันมาทำการเกษตรแบบถาวร อันเป็นที่มาของการจัดตั้ง “สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2522 ณ บริเวณบ้านขุนกลาง เพื่อเป็นสถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงอีกแห่งหนึ่ง ดำเนินงานวิจัยด้านไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผัก และไม้ผล รวมทั้งถ่ายทอดผลงานวิจัยไปสู่การส่งเสริมให้เป็นรายได้ของครอบครัวเกษตรกรทั้งชาวกะเหรี่ยง และ ม้งในหมู่บ้านรอบๆ สถานีฯ พร้อมกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานพัฒนาด้านสังคมและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและโปรดให้เป็น “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์” ในปี พ.ศ.2550


สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ดำเนินการด้านการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว ไม้ผลเขตกึ่งร้อน และไม้ผลขนาดเล็กมีพื้นที่ดำเนินการจำนวน 4 แห่ง รวมพื้นที่ 513 ไร่ 
ประกอบด้วย
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์89.5 ไร่, หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง193.0 ไร่, หน่วยแม่ยะน้อย 110.0 ไร่, หน่วยผาตั้ง120.5 ไร่ 


เริ่มที่พื้นที่แรก สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ (บ้านขุนกลาง) ในส่วนของพื้นที่บริเวณนี้ หลักๆจะให้บริการ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรวมถึงนักท่องเที่ยว/คณะศึกษาดูงาน ที่จะเข้ามาเรียนรู้ ตามจุดต่างๆของสถานีฯ เพราะถือได้ว่าสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร
ภายในมีจุดเยี่ยมชมที่พร้อมให้ทุกท่านได้เรียนรู้มากมาย อาทิ...

สวนแปดสิบพรรษา


โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงพันธุ์เฟิน


สวนกุหลาบพันปี




โรงเรืองผลิตไม้กระถางเพื่อการค้า


สวนซากุระ
 



โรงเรือนจัดแสดงพรรณไม้


 โรงเพาะกล้าเพื่อสนับสนุนเกษตรกร


 โรงเรือนการผลิตพืชไร้ดิน


 สวนหลวงสิริภูมิ

ซึ่งภายในจุดเยี่ยมชมต่างๆนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ของทางสถานีฯ คอยให้บริการข้อมูลสำหรับผู้ที่มาศึกษาเรียนรู้ทุกวัน ครับ นอกจากนี้ยังจุดที่รองรับสำหรับทุกท่านที่เหนื่อยล้าจากการเยี่ยมชมอยากพักผ่อนทางสถานีฯ ก็ยังมี 

ร้านจำหน่ายสินค้าของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงและเกษตรกร 


 สโมสรร้านอาหาร 


และบ้านพักในสถานีฯ






มาถึงพื้นที่การดำเนินงานที่ 2 คือ หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สำหรับพื้นที่จุดนี้ จะ ดำเนินการด้านการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว ไม้ผลเขตกึ่งร้อน และไม้ผลขนาดเล็ก 











 


พื้นที่ที่3 คือ หน่วยวิจัยแม่ยะน้อย ซึ่งวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟพันธ์ุอาราบิก้ามีพื้นที่110.0 ไร่




และพื้นที่การดำเนินพื้นที่สุดท้าย คือ หน่วยวิจัยผาตั้ง ซึ่งหน่วยนี้จะทำวิจัยในเรื่องของปศุสัตว์ที่จะวิจัยและทดลองนำขนแกะมาทำเป็นงานหัตถกรรม เช่น ผ้าทอขนแกะ ผ้าพันคอ เป็นต้น







ซึ่งทุกพื้นที่การดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ต้องการศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรพื้นที่สูง สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.00 น.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น