วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

อาซาเลีย







อาซาเลีย/Azalea

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhododendron hybrids
วงศ์ : Ericaceae
ประเภท ไม้ดอกอายุหลายปี
ความสูง 20 – 45 เซนติเมตร

ใบ รูปรี ปลายแหลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน หลังใบมีขนสากมือ
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5 – 8 เซนติเมตร ขอบกลีบเรียบหรือบิดย่นเป็นคลื่น กลีบดอกสีขาว ชมพู ม่วง แดง และสองสีในดอกเดียวกัน ออกดอกดก
ดิน ดินปลูกร่วนซุยชุ่มชื้น ระบายน้ำดี

แสงแดด แดดเต็มวันถึงรำไร
สภาพแวดล้อม อากาศเย็น
น้ำและความชื้น ปานกลาง
การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ดโดยกลบเมล็ดบางๆ วางภาชนะเพาะในที่ที่มีแสงรำไรหลังเพาะ 6 เดือนจึงออกดอก



อาซาเลีย ถูกจัดตกแต่งตามจุดต่างๆ ของสถานีฯ โดยเฉพาะ สวนกุหลาบพันธุ์ปี ที่รวบรวมพืชสกุล Rhododendron เช่น อาซาเลีย (Azalia) และกุหลาบพันปีชนิดต่างๆ หลายชนิด เป็นพืชการค้าในต่างประเทศและหลายชนิดได้ขยายพันธุ์มาจากต้นที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่น คำแดง หรือคำดอย (Rhododendron arboreum) ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นที่สูงของประเทศไทย เช่น ดอนอินทนนท์ ดอยอ่างขาง
(ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักพิมพ์บ้านและสวน http://book.baanlaesuan.com)

ซิมบิเดียม



ซิมบิเดียม
ชื่อสามัญ : Cymbidium 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbidium sp. 

ลักษณะทั่วไป : กล้วยไม้ซิมบิเดียมจัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ (sympodial) ลำต้นลดรูปและอัดแน่นเป็นหัวเทียม (psuedo bulb) บางชนิดหัวเทียมมีลักษณะกลม ป่อง เด่นชัด บางชนิดแบนยาวหรือเป็นลำต้นยืดยาว กล้วยไม้ซิมบิเดียมในธรรมชาติมีทั้งที่ เจริญบนต้นไม้ใหญ่ บนหิน และบนพื้นดิน รากของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่หนาไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร มี velamen สีขาวหุ้มอยู่ 


ใบ: ใบของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่มีลักษณะบาง ยาว แคบ ปลายแหลมและมีแนวหรือร่องกลางใบตลอดความยาวของใบ ใบของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่มีลักษณะอ่อนโค้งแต่ในบางชนิดได้มีการพัฒนาใบให้มีลักษณะหนาแข็ง(coriaceous) และ/หรือตั้งตรง เพื่อให้สามารถทนต่อสภาวะที่แห้งแล้งได้เช่นใน กะเระร่อนต่างๆและ บางสายพันธุ์ที่พบในออสเตรเลีย ใบของกล้วยไม้ซิมบิเดียมส่วนใหญ่เรียงอัดแน่นเป็นระเบียบสวยงามเหมือนพัด (fan-like shape or plicate) อยู่บนส่วนยอดของหัวเทียม ทำให้กล้วยไม้ซิมบิเดียมมีรูปทรงที่สวยงามแม้ในยามที่ไม่มีดอก 



สกุลกล้วยไม้ซิมบิเดียมมีทั้งหมดประมาณ 44 ชนิดแบ่งได้เป็น 3 สกุลย่อย 

1. สกุลย่อยไซเปอโรคิส Sub-Genus Cyperorchis เป็นกลุ่มที่มีต้นและดอกขนาดใหญ่และชอบอากาศเย็น ก้านช่อดอกแข็งแรง ดอกบานทนนาน ส่วนใหญ่ไม่มีกลิ่นหอม 


2. สกุลย่อยซิมบิเดียม Sub-Genus Cymbidium เป็นกลุ่มทีมีดอกขนาดเล็กจำนวนดอกต่อช่อมาก ส่วนใหญ่ช่อดอกห้อยลง แต่บางชนิดก็ตั้งตรง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใบหนา หลายชนิดทนร้อนและความแห้งแล้งได้ดี 


3. สกุลย่อยเจนโชว Sub-Genus Jensoa เป็นกลุ่มที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า Chinese Cymbidium มีลักษณะเด่นที่พุ่มใบอ่อนช้อยงดงาม ใบแคบบางเหมือนกอหญ้า ดอกมีขนาดเล็กแลดูบอบบางและไม่เด่น ช่อดอกส่วนใหญ่ตั้งตรง มีกลิ่นหอมแรง 





(ขอบคุณข้อมูลจาก สำเภางาม :www.bloggang.com) 

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประทัดจีน


ประทัดจีน
ประทัดแตก/ประทัดฝรั่ง/ประทัดเล็ก/Coral plant/Coralblow/Firecracker plant/Fountain plantชื่อวิทยาศาสตร์: Russelia equisetiformis Schltdl. & Cham.
วงศ์: PLANTAGINACEAE
ประเภท: ไม้พุ่มขนาดกลาง
ความสูง: 1-2 ม.
ลำต้น: มีข้อปล้อง แตกกอและกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบ รูปเข็มหรือเส้นเล็กเรียว ยาว 1.5-2 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ก้านใบสั้น
ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ยาว 3 ซม. ช่อละ 2-4 ดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปร่างคล้ายประทัดเล็กๆ มีหลายสี เช่น แดง ส้ม ชมพูอ่อน และเหลืองครีม เป็นมัน ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงมิถุนายน
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี
แสงแดด: เต็มวัน
น้ำ/ความชื้น: ปานกลาง ไม่ทนน้ำท่วมขัง
ขยายพันธุ์: ปักชำหรือแยกกอ
การใช้งานและอื่นๆ: ทรงพุ่มแผ่เตี้ย ใบเป็นเส้นเหมาะกับสวนหิน ริมน้ำตก สระว่ายน้ำ และริมทะเล เลี้ยงง่ายจึงนิยมใช้จัดสวน





(ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักพิมพ์บ้านและสวน http://book.baanlaesuan.com)

เดเลีย



ชื่อสามัญ :  Dahlia or Dalia
ชื่อวิทยาศาสตร์   :   Dahlia sp.
วงศ์ : Compositae หรือ Asteraceae
ถิ่นกำเนิด : บนที่สูงของเม็กซิโก และอเมริกากลาง

ลักษณะ : เดเลีย (Dahlia) เป็นไม้ดอกซึ่งเป็นที่รู้จักละปลูกเลี้ยงในเมืองไทยเป็นเวลาช้านานแล้ว คาดว่ามีการนำข้ามาจากต่างประเทศ จากเอกสารต่างประเทศกล่าวว่า เดเลีย มีถิ่นกำเนิดบนที่สูงของเม็กซิโก และอเมริกากลาง บางกลุ่มพบในอเมริกาใต้ เป็นพืชในวงศ์ Compositae หรือ Asteraceae เช่นเดียวกับเบญจมาศ และเยอบีร่า เดเลียที่ปลูกอยู่ทั่วไปเป็นมาจากลูกผสมของ Dahlia pinnate และ Dahlia cocinea (โสระยา 2544) ดาเลีย ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง ภายในลำต้นมีลักษณะกลวง บางชนิดเป็นไม้เลื้อย เดเลียที่ปลูกอยู่ทั่วไปเป็นแบบ Tetraploid ที่มีจำนวนโครโมโซม 2n=4?=64 ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน ไม้กระถาง หรือใช้เป็นไม้ตัดดอกซึ่งมีความนิยมมากขึ้น ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ดาเลียเพื่อให้เป็นไม้ตัดดอกที่มีลักษณะที่ดี คือมีก้านช่อดอกที่แข็งแรง ดอกมีสีสันที่สวยงาม รูปทรงแปลกตา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในแถบยุโรปดาเลียจะเจริญเติบโตและให้ดอกในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนมูลนิธิโครงการหลวงได้นำเข้าสายพันธุ์ดาเลียจากต่างประเทศมาทดลองปลูกบนพื้นที่สูงของประเทศไทย พบว่ามีการเจริญเติบโต และให้ดอกในฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งเดเลียจะสร้างดอกเมื่อมีใบ 5-7 คู่ใบ

ฟิโลเดนดรอน



ฟิโลเดนดรอน
          ฟิโลเดนดรอน เป็นไม้ประดับที่มีมากมายหลายชนิดราว 650 ชนิด แต่ที่นิยมนำมาปลูกเลี้ยงกันราว 160 ชนิด บางชนิดเป็นเถาเลื้อย และบางชนิดมีลำต้นเป็นแท่งสั้นไม่เลื้อย มีลักษณะของใบที่หลากหลายแยกตามสายพันธุ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงแบบวนสลับ เติบโตได้ดีทั้งในแดดรำไรและในร่ม ชอบน้ำปานกลาง ฟิโลเดนดรอนนี้เป็นไม้ใบที่มีลักษณะเด่นคือความหลากหลายของใบและสีสันสวยงาม นิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวยงาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Philodendron Sp.
วงศ์ : ARACEAE
ชื่อสามัญ : Philodendron
ถิ่นกำเนิด : ประเทศบราซิล อเมริกากลาง
ประเภท : ไม้ประดับใบเดี่ยวขนาดใหญ่ 
ลักษณะทั่วไป : 
 ฟิโลเดนดรอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ตามธรรมชาติในอเมริกาเขตร้อนและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เป็นพันธ์ไม้ใบหรือไม้ประดับที่ดูทรงต้นและใบมากกว่าที่จะดูดอก ตามธรรมชาติชอบขึ้นเลื้อยพันกับต้นไม้ใหญ่ๆ เป็นไม้ที่ชอบเลื้อยชอบไต่ตามสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง โดยใช้รากอาศัยเกาะพยุงต้นไว้



          ใบ : มีก้านยาว ใบรูปหัวใจ บางชนิดขอบใบหยักเป็นแฉก บางชนิดใบอ่อนที่ออกมาใหม่มีสีสันสวยงาม ลักษณะใบมีรูปร่างแปลกๆ ส่วนมากมีสีเขียวสด บางชนิดมีสีชมพูทองแดงอยู่ใต้ใบ ใบอ่อนบางชนิดมีสีชมพูหรือสีแดงอ่อนๆ เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวบางชนิดมีใบคล้ายใบลั่นทม เส้นใบสีแดงหรือชมพู พื้นใบสีเขียวอ่อน บางชนิดมีแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ บางชนิดไม่มีลำดับต้นสูงขึ้นจากพื้นดิน ไม้ชนิดนี้ขอบใบจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้น ตามอายุของต้น ดังนั้นใบใหม่ที่เพิ่งผลิออกมาจึงมีขนาดเล็กเป็นธรรมดา
         


การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ปักชำ, การตอน
          ฟิโลเดนดรอนขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนและการปักชำ ซึ่งแล้วแต่ลักษณะของลำต้นและทรงพุ่ม แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการปักชำส่วนยอดมากที่สุด
          การปลูกฟิโลเดนดรอน โดยปลูกกลางกระถางตั้งที่มีหลักให้เกาะยึดเจริญขึ้นไป วิธีปลูกถ้าจะให้ต้นและใบเรียงเป็นระเบียบสวยงาม ให้ผูกก้านไว้กับหลักเสา ซึ่งผูกกาบมะพร้าวไว้เป็นเพราะๆ ให้รากอากาศงอกจนเกาะเสาได้ที่แล้วปล่อยให้เจริญปีนเสาไปเรื่อยๆ ครั้นเห็นว่าเถาขึ้นสูงเกินเสาไปแล้วอาจตัดส่วนยอดออกยาวพอประมาณ แล้วปักชำปลูกเป็นต้นใหม่
          ถ้าต้องการให้ฟิโลแดนดรอนแตกกิ่งก้านสาขามากๆ ก็ควรหมั่นเด็ดยอดตั้งแต่ ตอนที่มันยังเล็กๆ อยู่ 


การดูแลรักษา :
          แสง : ชอบแดดรำไร อย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง จะทำให้ใบไหม้ได้ 
          อุณหภูมิ : ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18 - 24 องศาเซลเซียส
          ความชื้น : ชอบความชื้นสูง
          น้ำ : ควรรดน้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยรดน้ำทั้งที่ดินและที่เสา เพราะรากของมันจะเจริญทั้งในดินและในอากาศที่เกาะพันเสาอยู่

ฟิโลเดนดรอน (มรกตแดง)



ฟิโลเดนดรอน (มรกตแดง)


        ฟิโลเดนดรอน เป็นไม้ประดับที่มีมากมายหลายชนิดราว 650 ชนิด แต่ที่นิยมนำมาปลูกเลี้ยงกันราว 160 ชนิด บางชนิดเป็นเถาเลื้อย และบางชนิดมีลำต้นเป็นแท่งสั้นไม่เลื้อย มีลักษณะของใบที่หลากหลายแยกตามสายพันธุ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงแบบวนสลับ เติบโตได้ดีทั้งในแดดรำไรและในร่ม ชอบน้ำปานกลาง ฟิโลเดนดรอนนี้เป็นไม้ใบที่มีลักษณะเด่นคือความหลากหลายของใบและสีสันสวยงาม นิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับสวยงาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Philodendron Sp.
วงศ์ : ARACEAE
ชื่อสามัญ : Philodendron
ถิ่นกำเนิด : ประเทศบราซิล อเมริกากลาง
ประเภท : ไม้ประดับใบเดี่ยวขนาดใหญ่ 
ลักษณะทั่วไป : 
 ฟิโลเดนดรอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ตามธรรมชาติในอเมริกาเขตร้อนและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เป็นพันธ์ไม้ใบหรือไม้ประดับที่ดูทรงต้นและใบมากกว่าที่จะดูดอก ตามธรรมชาติชอบขึ้นเลื้อยพันกับต้นไม้ใหญ่ๆ เป็นไม้ที่ชอบเลื้อยชอบไต่ตามสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง โดยใช้รากอาศัยเกาะพยุงต้นไว้




  ใบ : มีก้านยาว ใบรูปหัวใจ บางชนิดขอบใบหยักเป็นแฉก บางชนิดใบอ่อนที่ออกมาใหม่มีสีสันสวยงาม ลักษณะใบมีรูปร่างแปลกๆ ส่วนมากมีสีเขียวสด บางชนิดมีสีชมพูทองแดงอยู่ใต้ใบ ใบอ่อนบางชนิดมีสีชมพูหรือสีแดงอ่อนๆ เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวบางชนิดมีใบคล้ายใบลั่นทม เส้นใบสีแดงหรือชมพู พื้นใบสีเขียวอ่อน บางชนิดมีแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ บางชนิดไม่มีลำดับต้นสูงขึ้นจากพื้นดิน ไม้ชนิดนี้ขอบใบจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้น ตามอายุของต้น ดังนั้นใบใหม่ที่เพิ่งผลิออกมาจึงมีขนาดเล็กเป็นธรรมดา
         

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ปักชำ, การตอน
          ฟิโลเดนดรอนขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนและการปักชำ ซึ่งแล้วแต่ลักษณะของลำต้นและทรงพุ่ม แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการปักชำส่วนยอดมากที่สุด
          การปลูกฟิโลเดนดรอน โดยปลูกกลางกระถางตั้งที่มีหลักให้เกาะยึดเจริญขึ้นไป วิธีปลูกถ้าจะให้ต้นและใบเรียงเป็นระเบียบสวยงาม ให้ผูกก้านไว้กับหลักเสา ซึ่งผูกกาบมะพร้าวไว้เป็นเพราะๆ ให้รากอากาศงอกจนเกาะเสาได้ที่แล้วปล่อยให้เจริญปีนเสาไปเรื่อยๆ ครั้นเห็นว่าเถาขึ้นสูงเกินเสาไปแล้วอาจตัดส่วนยอดออกยาวพอประมาณ แล้วปักชำปลูกเป็นต้นใหม่
          ถ้าต้องการให้ฟิโลแดนดรอนแตกกิ่งก้านสาขามากๆ ก็ควรหมั่นเด็ดยอดตั้งแต่ ตอนที่มันยังเล็กๆ อยู่ 


การดูแลรักษา :
          แสง : ชอบแดดรำไร อย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง จะทำให้ใบไหม้ได้ 
          อุณหภูมิ : ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18 - 24 องศาเซลเซียส
          ความชื้น : ชอบความชื้นสูง
          น้ำ : ควรรดน้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยรดน้ำทั้งที่ดินและที่เสา เพราะรากของมันจะเจริญทั้งในดินและในอากาศที่เกาะพันเสาอยู่


        

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

สับปะรดสี


ชื่อสามัญ : Bromeliad
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aechmea fasciata
ชื่อวงศ์ : BROMELIACEAE


ลักษณะทั่วไป สับปะรดสี ลักษณะของใบจะเป็นกลีบแข็งๆ แผ่ไปรอบๆ ต้น ในแต่ละพันธุ์จะมีลวดลายและสีสันบนใบที่สวยงามแตกต่างกันไป มีช่อดอกยาว สีที่กลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบมักมีสีสันฉูดฉาดสวยงาม สามารถอยู่ทนได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน 

สับปะรดสีเป็นพันธุ์ไม้ที่ทนแล้งได้ดี ดูแลง่าย แต่เจริญเติบโตได้ช้า ต้นเล็กๆ ที่งอกออกมารอบๆ ต้น สามารถตัดแยกไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ หากปลูกในบริเวณที่ได้รับแสงมากจะทำให้ใบมีสีสันสวยงามยิ่งขึ้น จึงมักปลูกไว้เป็นไม้ประดับชนิดหนึ่ง